เครื่องทำน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์แบบหลอดสูญญากาศ
ระบบทำน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน ดังนี้
1. ตัวเก็บรังสีอาทิตย์ (Solar Collector)
2. ถังสะสมความร้อน (Storage Tank)
ตัวเก็บรังสีอาทิตย์ (Solar Collector)
ทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนอย่างหนึ่ง ซึ่งเปลี่ยนรูปพลังงานแสงอาทิตย์ไปเป็นความร้อน และถ่ายเทให้กับน้ำที่ไหลในตัวเก็บรังสี ให้มีอุณหภูมิสูงขึ้น มีส่วนประกอบดังนี้
1. แผ่นปิดใส ทำหน้าที่ป้องกันการสูญเสียความร้อนให้กับบรรยากาศ ซึ่ง เรา ได้เลือกเป็นกระจกนิรภัย
2. ตัวดูดรังสี (Solar Absorber) ผลิตจากอลูมิเนียมรีดขึ้นรูป) ทำเป็นครีบดักรังสีเคลือบสารดูดความร้อนและเพิ่มท่อทองแดงเพื่อเพิ่มประสิท
ซึ่งสามารถรับรังสีอาทิตย์ได้มากกว่า และป้องกันการสะท้อนออกของรังสีที่ตกกระทบ ทำให้ประสิทธิภาพของตัวดูดรังสีสูงขึ้น
3. ท่อทางเดินของน้ำ ใช้ท่อทองแดงขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3/8 นิ้ว สวมอัดกับครีบดูดรังสี ทำให้ถ่ายเทความร้อนได้ดี และเชื่อมกับท่อ Header ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 1/8 นิ้ว ทำให้ไม่มีปัญหาเรื่องอุดตัน
4. ฉนวนกันความร้อน ใช้ไมโครไฟเบอร์ชนิดติดอลูมิเนียมปลอย 2 นิ้ว ซึ่งป้องกันความมร้อนสูญเสีย และอลูมิเนียมฟลอยยังทำหน้าที่สะท้อนรังสีกลับเข้าสู่ตัวดูดรังสีอีกครั้ง ทำให้ลดการสูญเสียความร้อนได้เป็นอย่างดี
5. กรอบตัวเก็บรังสี ผลิตจากอลูมเนียมรีดขึ้นรูป ทำให้ไม่ขึ้นสนิม
ถังสะสมความร้อน (Storage Tank)
เป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากต่อระบบ เพราะเป็นตัวเก็บน้ำร้อนเพื่อไปใช้งานตามความต้องการ เป็นถัง 2 ชั้น ชั้นในและชั้นนอกทำด้วยสแตนเลส ทำให้ไม่เป็นสนิม และทนต่อความดัน และปิดหัวท้ายด้วยสะแตนเลสอัดขึ้นรูป ภายในหุ้มด้วยฉนวนโพลียูนีเทนโฟม ซึ่งมีค่าการนำความร้อนต่ำ ทำให้สามารถเก็บความร้อนได้เป็นอย่างดี
หลักการทำงาน
ระบบทำน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์ สามารถแบ่งการทำงานตามลักษณะการหมุนเวียนของน้ำภายในระบบได้ 2 ระบบ ดังนี้
1. ระบบน้ำหมุนเวียนโดยธรรมชาติ (Natural Circulation or Thermosyphon System )ระบบน้ำเหมาะสมสำหรับใช้ถังสะสมน้ำร้อนขนาดเล็ก ซึ่งถังสะสมความร้อนจะอยู่สูงกว่าตัวเก็บรังสี
น้ำจากก้นถังซึ่งเป็นส่วนที่อุณหภูมิต่ำสุดจะไหลผ่านเข้าไปในตัวเก็บรังสี (SolarCollector) ทำให้น้ำมีอุณหภูมิสูงขึ้น ความหนาแน่นจะลดลง น้ำร้อนส่วนนี้ก็จะลอยตัวขึ้นทางด้านบนของตัวเก็บรังสี และลอยตัวขึ้นสู่ด้านบนของถังสะสมน้ำร้อน ขณะเดียวกันน้ำจากก้นถังซึ่งเย็นกว่าจะไหลเข้าทางด้านล่างของตัวเก็บรังสีแทนที่น้ำร้อนที่ลอยตัวขึ้นไป การหมุนเวียนของระบบจะหมุนเวียนต่อเนื่องตามธรรมชาติ ซึ่งจะเกิดขึ้นตลอดเมื่อมีแสงแดดเพียงพอ
2. ระบบใช้ปั้มในการช่วยให้น้ำหมุนเวียน (Forced Circulation System)
ระบบนี้เป็นระบบสำหรับการใช้น้ำร้อนเป็นจำนวนมาก และต่อเนื่องกัน เช่นโรงพยาบาล โรงแรม รีสอร์ท บ้านพักอาศัยขนาดใหญ่ สถานบริการต่าง ๆ ที่ไม่ต้องการติดตั้งถังสะสมน้ำร้อนไว้บนหลังคา ระบบดังกล่าวนี้มีอุปกรณ์เพิ่มเติม คือ ปั้มน้ำร้อน และระบบควบคุมการทำงานของปั้ม ระบบควบคุมนี้จะมีเทอร์โมมิเตอร์วัดอุณหภูมิของน้ำที่ทางเข้าและออกของตัวเก็บรังสี ถ้าผลต่างของอุณหภูมิน้อยกว่า 3-5 องศา แสดงว่าปริมาณของแสงอาทิตย์ที่ตกลงบนตัวเก็บรังสีน้อยมาก ระบบควบคุมดังกล่าวจะตัดการทำงานของปั้มทันที ส่งผลให้ไม่สิ้นเปลืองพลังงาน และสูญเสียความร้อนที่ตัวเก็บรังสีอาทิตย์